วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

แนวคิดกลยุทธ์ทางการแข่งขั
        เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และความสามารถที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์แก่บริษัทท่ามกลางแรงกดดันทางการแข่งขันที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ทุกวันในตลาดการค้าโลก เป็นระบบที่ช่วยเหลือหรือกำหนดตำแหน่งการแข่งขันในตลาดและกำหนดกลยุทธ์ของกิจการ
การสร้างกลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐานมี อย่าง ดังนี้
        1. กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านราคา
        2. กลยุทธ์ความแตกต่าง
        3. กลยุทธ์นวัตกรรม
        4. กลยุทธ์ความเจริญเติบโต
        5. กลยุทธ์สร้างพันธมิตร
บทบาททางกลยุทธ์สำหรับระบบสารสนเทศ

        - การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจบทบาทที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่สำคัญในขั้นตอนต่างๆในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้ขั้นตอนในการปฏิบัติงานภายในมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถทำให้บริษัทลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการแก่ลูกค้าและสามารถพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์สำหรับการเปิดตลาดใหม่อีกด้วย
        - การส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ สามารถให้ผลดีในการพัฒนาสินค้าและบริการหรือขั้นตอนการทำงานที่มีเอกภาพ
        - การสร้างกลไกต้นทุนการเปลี่ยนแปลง การหาหนทางสร้างกลไกต้นทุนการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า
        - การเพิ่มอุปสรรคของการเข้าสู่วงการ โดยการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงการทำงานหรือส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ทำให้บริษัทอื่นเกิดความท้อถอยหรือเกิดความล่าช้าที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งในวงการ
        - การยกระดับฐานงานเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ ทำให้บริษัทมีโอกาสได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของการปฏิบัติงาน
        - การพัฒนาฐานข้อมูลทางด้านกลยุทธ์ เป็นข้อมูลที่จะช่วยสนับสนุนกลยุทธ์การแข่งขันของบริษัทจะเสริมการทำงานและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของบริษัทการทำลายอุปสรรคทางธุรกิจ
        - การทำลายอุปสรรคทางด้านเวลา การทำให้ระยะเวลาการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าสั้นลงและลดการลงทุนด้านการเก็บกักสินค้าให้เหลือน้อยที่สุด
        - การทำลายอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์ การทำธุรกิจในตลาดทางด้านท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับโลก ทำลายระยะทางที่กีดขวางการควบคุมการบริหารงาน   - การทำลายอุปสรรคทางด้านต้นทุน ประหยัดค่าแรงงาน ลดขนาดของคลังสินค้า ลดจำนวน ศูนย์ ขนส่งสินค้า และลดต้นทุนการตัดต่อสื่อสาร
        - การทำลายอุปสรรคทางด้านโครงสร้าง Internet intranet extranet และเครือข่ายการสื่อสารระยะไกลอื่นๆสามารถส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงใน บริการการส่งสินค้า เพิ่มขอบข่ายและแทรกซึมเข้าสู่ตลาด
การประยุกต์ใช้เชิงกลยุทธ์และประเด็นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
       การที่องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี บริษัทอาจใช้ระบบสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ ในเชิงป้องกันหรือในเชิงควบคุม เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันกระบวนการทางธุรกิจในการจัดระบบใหม่ ป็นการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจซึ่งเป็นเรื่องที่มากกว่าการทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นไปอย่างอัตโนมัติเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาด้านประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจเหมือนกับการคิดทบทวนใหม่ตั้งแต่แรกและออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ทั้งหมดบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ความรวดเร็วความสามารถในการประมวลผลข้อมูลและการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนทางธุรกิจได้เป็นอย่างมากการปรับปรุงคุณภาพของธุรกิจ วิธีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน รวมทั้งการปรับรื้อระบบ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเทคนิคการปรับโครงสร้างต่างๆบางบริษัทได้รวมพิธีการต่างๆเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งวิธี ความว่องไวคล่องตัวหรือทำไว้ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูงนะการบริหารคุณภาพโดยรวม เป็นมากกว่าวิธีการเชิงกลยุทธ์สำหรับการปรับปรุงธุรกิจ คุณภาพจะเป็นสิ่งที่ถูกเน้นหนักจากมุมมองของลูกค้ามากกว่าตัวผู้ผลิตเอง ดังนั้น คุณภาพจำเป็นต้องตรงตามความต้องการหรือมากกว่าความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าผู้บริโภคสินค้าและบริการนั้นๆก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งที่ฉับไว  ความว่องไวคล่องตัวหรือทำไว้ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูงนั้น เป็นความสามารถทางธุรกิจที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยดี สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดด้วยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงมีผลผลิตที่ดีและเหมาะกับที่ลูกค้าต้องการการสร้างบริษัทเสมือน สามารถทำให้ผู้บริหาร วิศวกร นักวิจัย และพนักงานในสาขาอื่นๆจากทั่วโลกประสานงานร่วมมือกัน เพื่อผลิตคิดค้นสินค้าและบริการใหม่ๆโดยไม่ต้องมาพบปะพูดคุยกันตัวต่อตัวกลยุทธ์ของบริษัทเสมือน
        -ใช้โครงสร้างพื้นฐานและความเสี่ยงร่วมกัน
        -เชื่อมโยงความสามารถหลักเข้าด้วยกัน
        -ลดเวลา ด้วยการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
        -เพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและการครอบคลุมการตลาด
        -เข้าถึงตลาดใหม่และแบ่งตลาดหรือลูกค้าให้การ
        -เปลี่ยนจากการขายสินค้ามาเป็นขายวิธีการแก้ปัญหา
การสร้างบริษัทที่สร้างสรรค์ความรู้

        คือ บริษัทที่สร้างความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอและแพร่กระจายความรู้นั้นออกไปให้ทั่วในองค์กรรวมทั้งรีบปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้ได้ระบบการบริหารความรู้ การบริหารความรู้ จึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์เชิงกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ เพื่อให้เรียนรู้การบริหารองค์กรและเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจ เป้าหมายคือ ช่วยให้พนักงานที่มีความรู้ได้สร้างจากระบบและกระจายความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับธุรกิจการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีกลยุทธ์ลูกโซ่การเพิ่มมูลค่าของอินเทอร์เน็ตสามารถช่วยให้บริษัทประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ได้และยังสามารถถูกใช้สำหรับจัดวางตำแหน่งของระบบงานที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐานของบริษัทให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วย
ความท้าทายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

        การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ผู้จัดการมองระบบสารสนเทศในแนวใหม่ ระบบสารสนเทศมิใช่เป็นเพียงความจำเป็นทางด้านการปฏิบัติงาน และยังเป็นผู้ช่วยที่มีประโยชน์ในการจัดหาข้อมูลและเครื่องมือในการตัดสินใจของระบบบริหารอีกด้วยความสำเร็จในเชิงกลยุทธ์ที่ยั่งยืน 
        1. สภาพแวดล้อม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม คือโครงสร้างของอุตสาหกรรม
        2. ปัจจัยพื้นฐาน ตำแหน่งเฉพาะในวงการอุตสาหกรรม พันธมิตร สินทรัพย์ ทรัพยากรทางเทคโนโลยีและทรัพยากรความรู้
        3. การทำการบริหารและกลยุทธ์ การพัฒนาและริเริ่มให้เกิดการกระทำและกลยุทธ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ



กรณีศึกษาจริง กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน          1. อะไรคือความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ GATX ได้รับจากการพัฒนา ERP ซอฟต์แวร์ให้เข้ากับความต้องการตอบ  GATX ตัดสินใจสร้างงาน (Function) หนึ่งขึ้นมา ซึ่งไม่มีในซอฟต์แวร์ SAP R/3 Enterprise Resource Planning (ERP) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้กระบวนการต่างๆในการดำเนินธุรกิจทำได้โดยอัตโนมัติ     2. อะไรคือประโยชน์ทางการแข่งขันที่ GATX มองหาจากการขายERP ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาแล้วให้กับคู่แข่งตอบ  GATX ได้หลีกเลี่ยงที่จะกระโจนเข้าสู่ข้อผิดพลาดที่หลายๆ บริษัทเคยทำไว้ นั่นคือการพยายามที่จะพัฒนาทุกอย่างด้วยตนเอง           3. อะไรคือความเสี่ยงทางธุรกิจของกลยุทธ์นี้ของ GATXตอบ ตลาดการบริหารสินทรัพย์ยังไม่มีระบบงานใดๆที่สนองความต้องการของอุตสาหกรรมนี้       กรณีศึกษาจริง  การใช้อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต เพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน    1. ตอบ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตได้รับความสนใจและมีประโยชน์มากสำหรับองค์กรต่าง  ๆ เพราะสามารถสื่อสารคนจำนวนมากเข้าด้วยกัน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต่างรุ่นต่างแบบกัน  ในอดีตองค์กรหลาย ๆ แห่งเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการลงทุนกับเทคโนโลยีที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กร  ซึ่งผลที่ได้บางครั้งก็ไม่น่าพอใจ  ด้วยเหตุที่องค์กรต่าง  ๆ  จึงได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตเข้ามาใช้ เพื่อเป็นคำตอบสำหรับการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร  โดยใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
    2. ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานของ Ford ก่อให้เกิดอะไรบ้างตอบ ตัวแทนจำหน่ายจะสามารถให้ลูหค้าสั่งซื้อและจัดส่งรถได้ทุกประเภท พนักงานขายสามารถจะนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์กับลูกค้าและให้ลูกค้าระบุอุปกรณ์ที่ต้องการ ดูรูปประกอบบนจอคอมพิวเตอร์ที่แสดงด้วยความละเอียดระดับสูง สั่งซื้อรถ และสามารถรับทราบวันที่แน่นอนในการจัดส่ง
     3.ผลกำไรที่ Ford หวังว่าจะได้รับจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนการสั่งซื้อคืออะไรตอบ  ลูกค้าสามารถระบุอุปกรณที่ต้องการ ดูรูปประกอบบนจอคอมพิวเตอร์ที่แสดงด้วยความละเอียดระดับสูง สั่งซื้อรถ และสามารถรับทราบวันที่แน่นอนในการจัดส่ง

แบบฝึกหัดท้ายบท1.) ถ้านักศึกษาเป็นผู้บริหารในองค์กร จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการแข่งขันด้านการตลาดของตนอย่างไร และมีข้อสังเกตอย่างไรกับการทำธุรกิจในปัจจุบันตอบ ใช้กลยุทธ์ทางสารสนเทศ คือ ทำระบบซื้อขายส่วนกลาง ตรวจตราดูแลด้านต่างๆ พร้อมทั้งควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น
2.) กลยุทธ์บทบาทของระบบสารสนเทศอะไร ที่จะนำมาช่วยกระบวนการปรับรื้อระบบ และการจัดการคุณภาพตอบ กลยุทธ์ด้านความรวดเร็ว ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3.) จงยกตัวอย่าง บริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการใช้กระบวนการปรับรื้อทางธุรกิจตอบ บริษัท Uarco,Inc. กระการปรับรื้อระบบธุรกิจของ Uarco ทำให้หน่วยบริการลูกค้าสามารถรับผิดชอบการเสนอราคาต่อลูกค้าและการส่งสินค้าได้เอง ดังนั้นพนักงานจึงมีเวลาในการขายได้อย่างเต็มที่Uarco ประมาณการว่าผลกำไรสุทธิในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นถึง 25 เหรียญสหรัฐ อันเนื่องมาจากการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจนี้
4.จงยกตัวอย่างความสำเร็จของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ตอบ บริษัท DEC ปัจจุเป็นบริษัทลูกที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปริมาณที่มาก รวมการรับส่งไปรษณ์อิเล็กทรอนิกส์วันละหลายพันข้อความและเสนอข้อความทางสื่อประสมกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์บนแม่ข่ายเว็บ เป็นต้น สิ่งนี้เป็นผลให้บริษัทขายคอมพิวเตอร์ Alpha ได้มากกว่า 5ล้านเหรียญสหรัฐ
5.) จงยกตัวอย่างความล้มเหลวของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ตอบ บริษัท Chase Manhattan สูญเสียผลกำไรและส่วนแบ่งทางการตลาดหหลังจากความเพียรพยายามที่จะใช้ประโยชน์ IT ในเชิงกลยุทธิ์ทางเทคโนโลยี
6.) จงอธิบายถึงประโยชน์ของบริษัทเสมือนตอบ องค์กรจะเป็นที่รู้จักปรับตัว และรู้จักฉวยโอกาส สามารถสร้างสินค้าที่ตอบสนองลูกค้าได้อย่างตรงไปตรงมาและเป็นที่ยอมรับเชื่อถือในเชิงธุรกิจด้วยกันทั้งสองฝ่าย
7.) เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเป็นกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ซึ่งสามารถประสานงานระหว่างลูกค้า ร้านค้า และอื่นๆ ได้อย่างไรตอบ  โดยการเปลี่ยนขั้นตอนที่ไร้แบบแผนไปสู่การดำเนินการที่เป็นกิจวัตรหรือแบบแผน ลด หรือนำมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ได้ และนำพาข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้าสู่กระบวนการ
 
1. การค้นหาหนทางใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจสิ่งนี้อาจเกี่ยวเนื่องให้เกิดพัฒนาการของสินค้าและบริการ ข้อความนี้ตรงกับข้อใด    ก.  กลยุทธ์ความแตกต่าง    ข.  กลยุทธ์สร้างพันธมิตร    ค.  กลยุทธ์ความเป็นผู้นำด้านราคา    ง.  กลยุทธ์นวัตกรรม
2. การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพันธมิตรทางธุรกิจกับลูกค้าผู้จัดหาสินค้าคู่แข่งที่ปรึกษาและบริษัทอื่น ๆ  ข้อความนี้ตรงกับข้อใด    ก.  กลยุทธ์ความแตกต่าง    ข.  กลยุทธ์สร้างพันธมิตร    ค.  กลยุทธ์ความเป็นผู้นำด้านราคา    ง.  กลยุทธ์นวัตกรรม
3. ข้อใดคือความหมายของ Cost Leadership Strategy    ก. กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านราคา    ข. กลยุทธ์ความแตกต่าง    ค. กลยุทธ์นวัตกรรม    ง. กลยุทธ์ความเจริญเติบโต
4. กลยุทธ์ความเป็นผู้นำด้านราคาบริษัท Levitz Furniture กลยุทธ์ทางระบบสารสนเทศ คือข้อใด    ก. ตรวจตราดูแลด้านการแพทย์    ข. ใช้ติดตามงานส่งของทางระบบออนไลน์    ค. ทำระบบซื้อขายส่วนกลาง    ง. ลดต้นทุนการผลิต
5. ข้อใดคือเป้าหมายการจัดระบบใหม่ Reengineering    ก. กระบวนการใดๆก็ได้    ข. กระบวนการกลยุทธ์ทางธุรกิจ    ค. การปรับปรุงที่ดีขึ้น    ง. การเปลี่ยนแปลงองค์กรใหม่
6. การปรับตัว Adaptability คือ    ก. สร้าง ปฏิบัติ และกลมกลืนเข้าไปสร้างโอกาสทางธุรกิจ    ข. ครอบครองสิ่งที่ดีเยี่ยมระดับโลก    ค. ใช้เทคโนโลยีได้ดีระดับโลก    ง. สามารถปรับตัวให้ทันกับสภาพแวดล้อม
7. ข้อใดไม่ใช่ความสำเร็จในเชิงกลยุทธ์ที่ยั่งยืน    ก. สภาพแวดล้อม    ข. ปัจจัยพื้นฐาน    ค. ความท้าทาย    ง. การทำการบริหารและกลยุทธ์
8. ไมเคิลอี พอร์เตอร์ได้พัฒนาโมเดล ประเภทไใด     ก. เป้าหมายของกลยุทธ์     ข. อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด     ค. อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต     ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ค
9. บริษัทใดทำลายอุปสรรคด้านเวลา     ก. Toyota Motor Corp.
     ข. Citybank
     ค. Mobil Oil
     ง. Hewlett-Packard Co.
10. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย หมายถึงอะไร     ก. องค์การจะต้องค้นหาให้ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ดีในความรู้สึกของลูกค้ามีลักษณะพื้นฐานอย่างไร และจะต้องบริหารกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นให้มีต้นทุนต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม     ข. การสร้างบริการขององค์การให้มีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งขัน ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ทำให้ลูกค้ายึดติดในสินค้า และบริการนั้น     ค. การเลือกตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแคบลง หรือ มีตลาดเฉพาะด้าน     ง. ไม่มีข้อถูก

บทที่ 7 ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหาร

สรุปบทที่ 7 ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหาร  



ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 
   ระบบสารสนเทศสเพื่อการจัดการ เป็นประเภทพื้นฐานของระบบที่สนับสนุนการจัดการและยังเป็นหลักของระบบสารสนเทศอีกด้วย เป็นตัวสร้างข้อมูลที่สนับสนุนความต้องการในการตัดสินใจสำหรับงานการจัดการวันต่อวัน การสร้างรายงาน การแสดงและการตอบสนองโดยการเตรียมระบบข้อมูลสารสนเทศซึ่งผู้จัดการจะมีการกำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น การผลิตข้อมูลที่เหมาะสะมสำหรับผู้ที่ต้องตัดสินใจในระดับของการปฏิบัติงานและยุทธวิธีขององค์กร ซึ่งเป็นผุ้ที่ต้องเผชิญหน้ากับประเภทของโครงสร้างในเหตุการณ์สำหรับการตัดสินใจอยู่เป็นประจำ

ทางเลือกสำหรับการจัดการรายงาน
   ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ได้ผลิตข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการจัดการ ทางเลือกของรายงาน 4 ประเภทที่มีการเตรียมจากโปรแกรม

   - รายงานตามตารางเวลาปกติ
   - รายงานการยกเว้น
   - รายงานความต้องการและการตอบสนอง
   - รายงานสนับสนุน
  
การประมวลผลการวิเคราะห์ต่อตรงหรือออนไลน์
   การแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสิ่งแวดล้อมของโลกธุรกิจ คือ แรงผลักของความต้องการและการวิเคราะห์สำหรับระบบสารสนเทศที่มีความต้องการที่ซับซือน ซึ่งอุสาหกรรมระบบสารสนเทศนั้นมีการตอบสนองในความต้องการเหล่านี้ โดยการพัฒนา เช่น การวิเคราะห์ฐานข้อมูล ตลาดข้อมูลหรือข้อมูลทางการตลาด โกดังข้อมูลหรือคลังข้อมูล เทคนิคการทำเหมือนข้อมูลหรือขุมข้อมูล และโครงสร้างฐานข้อมูลทางด้านมัลติมิเดีย ที่เกี่ยวกับแม่ข่ายและซอฟต์แวร์เฉพาะที่สนับสนุนการประมวลผลการตัดสินใจและระบบสารสนเทศเพื่อผู็บริหารที่ผู้จัดการสามารถใช้งานและวิเคราะห์สื่อสารระหว่างกันและการจัดการรายละเอียด ซึ่งจะมีการตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว

การใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
   การใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เกี่ยวข้องกับการติดต่อในขั้นตอนการทำงานของรูปแบบจำลองในการวิเคราะห์ เช่น การใช้ชุดซอฟต์แวร์ DSS สำหรับสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะมีผลในลำดับของการแสดงที่มีการตอบสนองจากทางเลือกวอทอีฟ ที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแผได้โดยผู้จัดการ

   การใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐาน 4 อย่างของแบบจำลองในการวิเคราะห์ ดูบทสรุปของแบบจำลองการวิเคราะห์สำหรับการสนับสนุนในการตัดสินใจ

การวิเคราะห์แบบวอทอิฟ
   ในการวิเคราะห์แบบวอทอิฟ ผู้ใช้สามารถจะเปลี่ยนแปลงตัวแปรปหรือจำนวนความสัมพันธ์ของตัวแปรและความชัดเจนของผลลัพธ์ที่ได้จากค่าตัวแปรอื่นๆ เช่น ถ้าคุณใช้ตารางทำการ คุณจะต้องเปลี่ยนจำนวนของรายได้ (ตัวแปร) หรือสูตรคิดอันตราภาษี (จำนวนความสัมพัธ์ของตัวแปร) ในแบบจำลองด้านการเงินในตารางทำการ หลังจากนั้นคุณอาจสั่งให้โปรแกรมทำการคำนวนใหม่อีกครั้ง เพื่อแระเมินค่าบางตัวที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการกำหนดตัวแปร เช่น กำไรสุทธิหลังหักภาษี

การวิเคราะห์แบบละเอียด
   การวิเคราะห์แบบละเอียดเป็นกรณีพิเศษของการวิเคราะห์แบวอทอิฟ ค่าของตัวแปรเพียงหนั่งตัวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ในตัวแปรอื่นๆ ดังนั้นการวิเคราะห์แบบละเอียดจะเป็นกรณีของการวิเคราะห์แบบวอทอิฟ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงซ้ำอีกครั้งในตัวแปรเพียงตัวเดียวในแต่ละครั้ง ชุดโปรแกรม DSS บางตัวจะมีการเปลี่ยนแปลงตัวแปรโดยอัตโนมัติ การวิเคราะห์แบบละเอียดจะใช้เมื่อผู้ตัดสินใจไม่แน่ใจเกี่ยวกับการประเมินค่าของตัวแปรหลัก

การวิเคราะห์แบบค้นหาเป้าหมาย
   การวิเคราะห์แบบค้นหาเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์แบบวอทอิฟ และแบบรายละเอียดจะเป็นการแทนที่ของสิ่งที่เห็นได้ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรที่มีผลกับตัวแปรอื่นอย่างไร การวิเคราะห์ในการค้นหาเป้าหมายเรียกว่า สามารถวิเคราะห์ได้อย่างไร  ได้กำหนดค่าของเป้าหมาย (ความสำเร็จ)  สำหรับตัวแปร หลังจากนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรอื่นๆจนกระทั่งค่าของเป้าหมายนั้นเข้าถึงเป้าหมาย

การวิเคราะห์แบบเหมาะสม
   การวิเคราะห์แบบเหมาะสม เป็นการขยายความซับซ้อนที่มากขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ค้นหาเป้าหมาย โดยแทนที่ค่าของเป้าหมายเฉพาะสำหรับตัวแปร เพื่อค้นหาค่าที่เหมาะสมสำหรับตัวแปรหนึ่งตัวแปรหรือมากกว่านั้น หลังจากนั้นตัวแปรอื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีข้อจำกัดเกิดขึ้น จนกว่าจะได้ค่าที่ดีที่สุดสำหรับตัวแปรเป้าหมายที่ต้องการ เช่น ควรกำหนดค่าระดับของผลกำไรไว้ในระดับสูงที่ควรจะเป็นเป้าหมายแห่งความสำเน็จ โดยวางค่าสำหรับการเลือกแหล่งของรายได้และประเภทของค่าใช้จ่าย การเปลี่ยนแปลงในตัวแปรอย่างมากอาจจะทำให้มีขีดจำกัดสำหรับขั้นตอนการผลิตหรือขีดจำกัดของการเงิน ดังนั้น เงื่อนไขที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์
   1. ศาตร์แห่งการรับรู้
   2 หุ่นยนต์
   3. ลักษณะการทำงานที่เป็นธรรมชาติ





คำถามกรณีศึกษา

  1. ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายมาเป็น “ระบบสารสนเทศของทุกๆคน”ตอบ  การทำงานร่วมกันของระบบอินทราเน็ตกลายเป็นสิ่งที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ซึ่งในแต่ละระดับอย่างเช่นผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญในทุกระดับสามารถใช้อินทราเน็ตในการเข้าถึงข้อมูลและแบ่งปันข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับปัจจัยหลักของธุรกิจและคู่แข่งขันกันได้

2.    อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินเทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrumตอบ  แนวคิดก็คือการที่ระบบอินทราเน็ตเป็นระบบสารสนเทศของทุกๆคนที่เราสามารถที่จะเข้าถึงได้ง่ายและสะดากกับการใช้งาน

3.    อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
ตอบ  ช่วยเพิ่มการคืนทุนและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยการลดเวลาที่ไม่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงและจัดการข้อมูลสารสนเทศในระบบอินทราเน็ตในบริษัท ช่วยให้พนักงานในบริษัทใช้ระบบอินทราเน็ตเป็นเครื่องมือการแข่งขันสำหรับโครงการทางวิศวกรรมใหม่ๆ


คำถามท้ายบท

1.การจัดการในการตัดสินใจนั้นต้องได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความสำเร็จ

ภายในองค์กร อันได้แก่อะไรบ้าง
ก.การจัดการด้านกลยุทธ์                       ข.การจัดการด้านยุทธ์วิธี
ค.การจัดการด้านการปฏิบัติการ              ง.ถูกทุกข้อ

2.การตัดสินใจในระดับการปฏิบัติการจะมีแนวโน้มที่เป็นแบบโครงสร้างมากกว่าหรือน้อยกว่าในระดับ
ยุทธวิธีที่เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง
ก.น้อยกว่า                                 ข.เท่ากับ
ค.มากกว่า                                  ง.ไม่มีข้อถูก

3.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ประเภท

ก.3 ประเภท                           ข.4 ประเภท
ค.5 ประเภท                           ง.6 ประเภท

4.การจัดการรายงานในรูปแบบของการกำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านใด

ก.รายงานการยกเว้น                          ข.รายงานตามตารางเวลาปกติ
ค.รายงานความต้องการและการตอบสนอง    ง.รายงานสนับสนุน

5.แบ่งปันประสบการณ์และความรู้ของพวกเขาในการปรับปรุงงานของบริษัทและโครงการทางวิศวกรรมต่างๆมีการสนทนาผ่านระบบใด

ก.ระบบ ROI
ข.ระบบ EIS
ค.ระบบ PAN
ง.ระบบ MIS

6.ระบบงานที่ใช้ Fuzzy Logic พบได้มากในประเทศใด
ก.ประเทศบราซิล
ข.ประเทศสหรัฐอเมริก
ค.ประเทศญี่ปุ่น
ง.ประเทศอิตาลี

7.ส่วนของการปฏิบัติการหลักของปัญญาประดิษฐ์ในการปฏบัติการหลายอย่างของปัญญาประดิษฐ์ที่จัดกลุ่มได้กี่ส่วน
ก.6 ส่วน
ข.4 ส่วน
ค.5 ส่วน
ง.3 ส่วน

8. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีกี่ขั้นตอน
     ก. 2 ขั้นตอน
     ข. 4 ขั้นตอน
     ค. 6 ขั้นตอน
     ง. 8 ขั้นตอน


9.ระบบสารสนเทศในข้อใดที่มีการรวบรวมเอาลักษณะการทำงานของสารสนเทศเพื่อการจัดการหลายๆตัวรวมกับระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ
ก.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร                  ข.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ค.การจัดการด้านกลยุทธวิธี                        ง.ไม่มีข้อถูก

10.คณะกรรมการอำนวยการ สมาชิกผู้บริหาร และผู้บริหารระดับสูงกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ นโยบายและการวางแผนภายในองค์การ คือการจัดการด้านใด
ก.Tactiacl Management                         ข.Strategic Management
ค.Operation Management                      ง.Push Reporting





แบบฝึกหัดท้ายบท

1. อะไรคือความแตกต่างระหว่างความสามารถของผู้บริหารในการเรียกข้อมูลออกมาใช้ตามความต้องการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และความสามารถจัดการเรื่องบริหารการตัดสินใจโดยใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ ระบบการตัดสินใจเป็นประเภทหลักของระบบสารสนเทศที่คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจระหว่างขั้นตอนตัดสินใจระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้คือ
       1.รูปแบบจำลองในการวิเคราะห์
       2.ฐานข้อมูลเฉพาะ
       3.ผู้ที่ตัดสินใจหรือหรือผู้ตัดสิน
       4.การติดต่อระหว่างกัน

2. ระบบงานการขาย มีความก้าวหน้ากว่า แต่ก่อนมาก เมื่อต้องการข้อมูลสำหรับการทำงานในองค์กร เนื่องจากความต้องการเรื่องกลยุทธ์ และการบริหารการตัดสินใจในธุรกิจเปลี่ยนไป ให้นักศึกษาอธิบายเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงนี้
ตอบ  แผนกลยุทธ์ คือการตัดสินใจวางแผนอย่างมีระบบ  มีทิศทางมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน  มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม  เพื่อให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้ในอนาคต
โดยอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของทุกฝ่าย เทคนิค คือ กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให ้ กระบวน การ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เทคนิค การสอน จึงหมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนิน การทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรรยาย ผู้สอนอาจ ใช้เทคนิคต่างๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง การใช ้ สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น
    การทำให้องค์การสามารถปฏิบัติงานได้ จะต้องมีความรู้เรื่องทักษะของคน ความเข้าใจคน การสร้างความประทับใจที่ดีต่อบุคคล การใช้เวลาที่เหมาะสม การไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพื่อประกอบในการตัดสินใจในการบริหารงาน

3. มีแนวทางไหนบ้าง ที่นักศึกษาใช้โปรแกรมตารางคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาช่วยในการตัดสินใจ
ตอบ  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support system : DSS)ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้ และการรายงานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริหารต่างๆ ระบบ DSS จะมีความสามารถในการใช้งานได้ดีกว่าระบบประมวลผลรายการและระบบรายงานการจัดการ เนื่องจากระบบ DSS สามารถที่จะปรับเปลี่ยนตัวแปร ที่แตกต่าง กันและทำการวิเคราะห์ใหม่ได้ 

4. ทำไมการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง จึงขยายไปยังระดับกลาง และขยายไปทั่วหมดทุกแผนกในองค์กร
ตอบ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเป็นผู้ทรงความรู้ความสามารถในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับองค์การอย่างละเอียดและกว้างขวางจะต้องเป็นผู้รู้ความเป็นไปของธุรกิจ การดำเนินงาน รวมถึงความสามารถในการตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลอันเป็นผลให้ก่อประโยชน์ต่อองค์การหลีกเลี่ยงการพูดที่ทำให้เกิดความเสียหาย หรือภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อองค์การ

5. ทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์จึงสามารถคิดได้ อธิบายเหตุผล
ตอบ คอมพิวเตอร์คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์อเนกประสงค์ที่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือ (tools) สำหรับเพิ่มปรสิทธิภาพในการทำงานด้านต่างๆๆ ให้ได้ตามต้องการของมนุษย์ เช่น ด้านการศึกษางานวิจัย วิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ   ระบบคอมพิวพิวเตอร์ คือ กลุ่มของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รวมตัวเข้าด้วยกันเพื่อร่วมกันประเมินผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ (ELECTRONIC DATA PROCESSING )
หรือประมวลผลข้อมูล (INFORMATION PROCESSING) นั้นเพมื่อให้ได้ข่าวสารตรงตามที่ต้องการ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูล (INCOMING DATA) ประมวลผลข้อมูล(PROCESSING) แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลนั้นๆ (OUTPUT) ให้กับผู้ใช้ 

6. การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในองค์กร ส่วนไหนสำคัญที่สุด บอกเหตุผลที่นักศึกษาเลือก
ตอบ ลักษณะการทำงานที่เป็นธรรมชาติ เพราะเป็นการพัฒนาลักษณะลักษณะการทำงานที่เป็นธรรมชาติ เป็นการพิจรณาจากหลักของการปฏิบัติการทางปัญญาประดิษฐ์แป็นส่วนที่สำคัญในการใช้ธรรมชาติของมนุษย์

7. การผสมผสานระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายเส้นประสาท จะก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง นักศึกษาคาดหวังจะเกิดเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างไรบ้าง
ตอบ เป็นการนำเอาระบบต่างๆ หรือเทคนิคต่างๆ ของปัญญาประดิษฐ์ที่กล่าวข้างต้นมาบูรณาการเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นการบูรณาการระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญกับระบบเครือข่ายนิวรอนเข้าด้วยกัน เช่น โปรแกรมประยุกต์ดาต้าไมนิ่ง ด้านการตลาดและการขายของบริษัท จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ได้สร้างผลิตภัณฑ์มีรวบรวมเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ผสมผสานเพียงหนึ่งเดียว โดยประกอบด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ได้รับความนิยม ตัว คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายเส้นประสาท เช่น การรวมเอาระบบ ES/NNที่อาจจะพบกับแนวโน้มหรือการค้นหาความสัมพันธ์ที่ซ้อนอยู่ (ตามที่ตาข่ายเส้นประสาททำอยู่) และหลังจากนั้นจะมีการวินิจฉัยและตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ในส่วนของปัญหาเฉพาะ (ตามที่ระบบผู้เชี่ยวชาญทำอยู่)

8. อะไรคือขอบเขตจำกัด หรืออันตรายที่นักศึกษามองเห็นในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ตอบ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ระบบนี้จะพยายามลอกเลียนแบบความสามารถของ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ในการแก้ปัญหาต่างๆ
ความเป็นจริงเสมือน หรือ ความจริงเสมือน (อังกฤษvirtual realityหรือ VR) เป็นสภาพแวดล้อมที่จำลองโดยคอมพิวเตอร์ สภาพแวดล้อมในความเป็นจริงเสมือนส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สิ่งที่เกี่ยวกับการมองเห็นแสดงทั้งบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์แสดงผลสามมิติ แต่การจำลองบางอันยังรวมไปถึงข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสด้วย เช่น เสียงจากลำโพงหรือหูฟัง ระบบสำหรับทำการทดลองขั้นสูงยังรวมถึงการสัมผัสเช่นการตอบสนองต่อแรงป้อนกลับ โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมเสมือนได้ทั้งการใช้อุปกรณ์นำเข้ามาตรฐานเช่น แป้นพิมพ์ หรือ เมาส์ หรือใช้อุปกรณ์หลายภาวะ เช่น ถุงมือโครงลวด แขนควบคุม หรือ คันบังคับหลายทิศทาง

5.1 เครื่องมือทางการเงินและการตลาด


5.1 เครื่องมือทางการเงินและการตลาด 5.1.1.เครื่องมือทางการเงิน1.ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงิน ในรูปของ สัญญาทางการเงินระหว่างผู้ออกตราสารหนี้ และผู้ถือตราสารหนี้ มีกำหนดอายุและอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่แน่นอน มีการระบุวันชำระดอกเบี้ยและเงินต้นล่วงหน้า หรือจะเรียกง่ายๆ ก็คือสัญญากู้ยืมเงินที่ผู้ออกตราสารอยู่ในฐานะลูกหนี้ เนื่องจากผู้ออกตราสารต้องการนำเงินไปลงทุน ส่วนผู้ซื้อจะอยู่ในฐานะเจ้าหนี้        1.1 ประเภทตราสารหนี้การแบ่งประเภทตราสารหนี้อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ดังนี้1. แบ่งตามอายุของตราสารหนี้ ได้แก่ ตราสารหนี้ที่มีอายุ​สั้น กลาง และยาว​2. แบ่งตามลักษณะของการจ่ายดอกเบี้ย เช่น ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราลอยตัว ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยทบต้น หรือตราสารหนี้ที่ไม่จ่ายดอกเบี้ย เป็นต้น3. แบ่งตามลักษณะการออกใบตราสาร ได้แก่     3.1 ชนิดมีใบตราสาร (Scrip)  เป็นตราสารหนี้ที่มีการออกใบตราสารซึ่งระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ให้ครอบครอง​     3.2 ชนิดไร้ใบตราสาร (Scripless)  เป็นตราสารหนี้ที่บันทึกกรรมสิทธิ์ไว้ในบัญชีของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์โดยไม่มีการออกใบตราสาร
4. แบ่งตามประเภทของผู้ออกตราสารหนี้ ได้แก่     4.1 ตราสารหนี้ภาคเอกชน หมายถึง ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)  เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ เป็นต้น    4.2 ตราสารหนี้ภาครัฐ หมายถึง ตราสารหนี้ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานภาครัฐ ออกจำหน่ายเพื่อระดมทุนในประเทศจากประชาชนและสถาบันการเงิน1.2 องค์ประกอบของตราสารหนี้ ตราสารหนี้โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งพอจะจำแนกได้ดังนี้
1.   มูลค่าที่ตราไว้ (Par value) คือ มูลค่าเงินต้นที่ผู้กู้จะต้องชำระคืนให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้นเมื่อครบกำหนด ส่วนใหญ่เท่ากับ 1,000 บาท ทั้งนี้มูลค่าที่ตราไว้นี้อาจลดลงเมื่อมีการจ่ายคืนเงินต้นในกรณีที่เป็นตราสารหนี้ชนิดทยอยจ่ายคืน
2.   อัตราดอกเบี้ย (Coupon rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกมีภาระที่จะต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้น ๆ ตามวัน เดือน ปี ที่กำหนดตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น ในกรณีที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed rate) เช่น 8.00% ต่อปี ผู้ออกจะต้องจ่ายที่อัตรานั้นตลอดอายุของตราสารหนี้ หรือในกรณีที่กำหนดให้เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating rate) อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกต้องจ่ายให้ผู้ถือจะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามที่กำหนด ซึ่งโดยปกติมักจะอ้างอิงไว้กับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เช่น เปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ปีโดยเฉลี่ยของ 5 ธนาคารใหญ่ และบวกหรือลบด้วยส่วนต่าง (Margin) ที่กำหนดซึ่งจะขึ้นกับคุณภาพของตราสารหนี้นั้น ๆ
3.   งวดการจ่ายดอกเบี้ย (Coupon frequency) เป็นการระบุจำนวนครั้งของการจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง 1 ครั้ง ต่อปี 2 ครั้งต่อปี 4 ครั้งต่อปี หรือทุกๆ เดือน แล้วแต่ผู้ออกจะกำหนด แต่โดยส่วนใหญ่เป็นการจ่ายทุกครึ่งปี โดย เฉพาะพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลและองค์กรภาครัฐ
4.   วันหมดอายุ (Maturity Date) เป็นการกำหนดวันหมดอายุของตราสารหนี้นั้น ซึ่งผู้ออกจะต้องทำการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยงวดสุดท้าย (ถ้ามี) ให้กับผู้ถือ
5.   ชื่อผู้ออก (Issue name) เป็นการระบุว่าใครเป็นผู้ออกตราสารหนี้นั้น หรือเป็นการระบุชื่อผู้กู้
6.   ประเภทของตราสารหนี้ เป็นการระบุประเภทของตราสารหนี้นั้น เช่น หุ้นกู้ไม่มีประกัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิ/ไม่ด้อยสิทธิ หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นต้น7.   ข้อสัญญา (Covenants) เป็นเงื่อนไขและข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ออกหุ้นกู้ต้องสัญญาว่าจะทำหรือไม่ทำ สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อประโยชน์ของผู้ให้กู้ โดยทั่วไปมักเกี่ยวกับการตกลงในระดับทุนหมุนเวียน อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือภาระดอกเบี้ยที่ต้องชำระ การห้ามจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นสามัญเกินอัตราที่กำหนด การต้องดำรงสัดส่วนของหนี้สินต่อทุนไม่เกินอัตราที่กำหนด ข้อสัญญาอาจรวมถึงการจำกัดด้านการบริหารของผู้ออก เช่น การห้ามรวมกิจการเป็นต้น อัตราผลตอบแทนของการลงทุนในตราสารหนี้มาจากไหนโดยปกติแล้วผลตอบแทนของตราสารหนี้จึงมาจาก 2 ส่วนที่สำคัญ คือ1.   อัตราดอกเบี้ย/อัตราผลตอบแทนจากที่ผู้ออกต้องจ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้2.   กำไร/ขาดทุนจากการขาย (Capital gain/loss) คือผลกำไรจากราคาของตราสารหนี้เพิ่มขึ้นจากตอนซื้อ หรือขาดทุนเมื่อราคาของตราสารหนี้ลดลงจากตอนซื้อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดขยับขึ้นหรือลง1.3 ผลตอบแทนความเสี่ยงของตราสารหนี้
การเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้อายุตราสารหนี้ และความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Interest Rate Risk)
เส้น Yield Curve และลักษณะทั่วไปความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง กับราคาตราสารหนี้ผู้ออกตราสารหนี้ และความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk)
อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Ratings)
โอกาสการถูกผิดนัดชำระหนี้ (Default Rates)
 2.ตราสารทุน หมายถึง ตราสารที่กิจการออกขายให้แก่ผู้ลงทุนเพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ ตราสารทุนแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ทั้งนี้ บุคคลธรรมดาที่ลงทุนในหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หากได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 แต่ไม่ต้องเสียภาษีในกรณีของ Capital Gain (ผลตอบแทนในรูปของส่วนต่างในกรณีที่ราคาขายสูงกว่าราคาซื้อ)ประเ​ภทของตราสารทุน ได้แก่​​​​​หุ้นสามัญ (Common Stock)คือตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิในการออกเสียงลงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและมีสิทธิได้รับเงินปันผล(ตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง) โดยจำนวนเงินปันผลจะขึ้นอ​ยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปี และนโยบา​ยการจ่ายปันผ​​ลของบริ​ษัท​หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)คือตราสารสิทธิที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แต่มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ และในส่วนของผลตอบแทน เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ ​​ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (Warrant)คือตราสารที่ผู้ถือจะได้รับสิท​ธิในการซื้อหุ้นสามัญจากบริษัทที่ออก Warrant นั้นในราคาและระยะเวลาที่กำหนดไว้​ ​​ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Transferable Subscription Rights : TSR)คือตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ถืออยู่เพื่อให้ผู้ถือหุ้น (หรือผู้ได้รับโอนสิทธิมาจากผู้ถือหุ้นเดิม) ใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท​ ​​ ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipt : DR)
คือตราสารที่ออกและเสนอขายโดย บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด (บริษัทในเครือของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิเหมือนลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงนั้น ๆ เช่น หากหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นสามัญก็จะได้รับเงินปันผลเหมือนหุ้นสามัญ แต่ DR จะมีกำหนดอายุการไถ่ถอน ซึ่งผู้ถือต้องมีสัญชาติไทย และต้องออกเสียงลงคะแนนผ่านบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เท่านั้น ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย(Non - Voting Depository Receipt : NVDR)คือตราสารที่ออกและเสนอขายโดย บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีลักษณะคล้ายกับ DR แต่ NVDR จะไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือ 3.ตราสารอนุพันธ์ (อังกฤษ: derivative บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาอนุพันธ์) เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมาตรฐาน (futures), สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มาตรฐาน (forward), ตราสารแลกเปลี่ยน (swap), ตราสารสิทธิ (option) เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น โลหะมีค่า สินค้าเกษตร น้ำมัน หรือสินค้าอื่นใดที่มีดัชนีแน่นอนรองรับการออกตราสารอนุพันธ์ได้4.กองทุนรวมกองทุนรวม คือ เครื่องมือในการลงทุน (investment vehicle) สำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ประสงค์จะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน
แต่ติดขัดด้วยอุปสรรคหลายประการ ที่ทำให้การลงทุนด้วยตนเองไม่สามารถได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น      มีทุนทรัพย์จำนวนจำกัด ไม่สามารถกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเภทได้มากพอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน หรือ      ไม่มีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญในการลงทุน หรือ      ไม่มีเวลาจะศึกษา ค้นหา และติดตามข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจการลงทุน กองทุนรวม จึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดการลงทุนอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดมุ่งหมาย   ให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีสุด ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้5.1.2 สถาบันการเงิน สถาบันที่ทำหน้าที่ระดมเงินออม  ให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินไปเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการลงทุนดำเนินธุรกิจ  โดยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ออม  และคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืม  กิจกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อคนเราประกอบอาชีพมีรายได้เกิดขึ้น  เขาย่อมมีอิสระที่จะนำรายได้นั้นไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภคก็ได้  หรือจะเก็บออมไว้ในสถาบันการเงินต่างๆ  เพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยงอกเงยก็ได้  และทางด้านการเงินของประเทศปกติก็จะมีอยู่  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มหนึ่งมีรายได้แล้วต้องการจะเก็บออมไว้  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งต้องการเงินทุนไปประกอบธุรกิจของตน  สถาบันการเงินจะเข้ามาเป็นตัวกลางให้บริการทางการเงินแก่คนทั้ง  2  กลุ่มนี้  สถาบันการเงินจะระดมเงินออกจากประชาชนในรูปแบบต่างๆ กัน  แล้วให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืมไปลงทุนในกิจการของตน5.1.3 ตลาดการเงิน  ตลาดการเงิน (Financial Market) หมายถึง ตลาดที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้มีเงินออมกับผู้ที่ต้องการเงิน เป็นการเปลี่ยนเงินออมไปเป็นการลงทุน ทั้งในระบบของการให้สินเชื่อและการพัฒนาหลักทรัพย์หลัก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราด้วย    บทบาทที่สำคัญของตลาดการเงิน           1. ทำให้ผู้มีเงินออมได้รับผลคอบแทน ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของดอกเบี้ยรับ เงินปันผล หรือผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ           2. ทำให้ผู้ต้องการเงินหรือผู้ลงทุนสามารถมีเงินทุนสำหรับใช้ในโครงการค่างๆ ได้ ตลาดการเงินทำให้ผู้มีโครงการลงทุนแต่มีเงินไม่เพียงพอสามารถหาแหล่งเงินกู้ไปใช้ในการลงทุนได้เพียงพอ โดยมีค่าใช้จ่ายในอัตราที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับความมีประสิทธิภาพของตลาดการเงิน ถ้ามีตลาดการเงินที่มีประสิทธิภาพ ผู้กู้ก็จะสามารถหาแหล่งเงินทุนได้ด้วยต้นทุนหรือดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำได้ การลงทุนโดยผ่านตลาดการเงินที่มีประสิทธิภาพทำให้การลงทุนที่แท้จริงเกิดขึ้นและขยายตัว ซึ่งมีผลให้กำลังการผลิตสินค้า และบริการของประเทศเพิ่มมากขึ้น           3. ทำให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ จากการที่มีตลาดการเงินเป็นแหล่งในการระดมทุนจากเงินออมไปใช้ลงทุนในโครงการต่างๆ ดังกล่าวถูกพิจารณาอย่างรอบคอบ และมีความสำเร็จในการลงทุนอย่างดี จะมีผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว เป็นการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตแก่เศรษฐกิจของประเทศ           4. ทำให้มาตรฐานการครองชีพของประชาชนหรือผู้บริโภคสูงขึ้น การมีตลาดการเงินทำให้ผู้มีเงินออมมีผลตอบแทน ผู้ต้องการลงทุนสามารถจัดหาเงินทุนได้ในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม การลงทุนขยายตัว มีการว่าจ้างงานมากขึ้น ระดับรายได้ของประชาชนทั่วไปดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคที่ต้องการกู้เงินเพื่อใช้จ่ายในการบริโภค เช่น การซื้อบ้าน รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ก็สามารถหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายเหล่านี้ได้ มาตรฐานการครองชีพก็จะดีขึ้น ขณะเดียวกันผู้ลงทุนผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจก็จะขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น การลงทุนก็จะขยายตัวออกไปอีก เศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศก็จะขยายตัว    ส่วนประกอบของตลาด 1. ผู้มีเงินออม ประกอบด้วย           1.1 เงินออมจากภาคเอกชน คือ การออมของบุคคลทั่วๆ ไป และหน่วยธุรกิจเอกชน           1.2 เงินออมจากภาครัฐ คือ เงินที่เกิดจากรายได้ของรัฐบาลที่สูงกว่ารายจ่ายในปีงบประมาณหนึ่งๆ ถือว่าเป็นเงินอมที่นำส่งคลัง เรียกว่า เงินคงคลัง           1.3 เงินออมจากต่างประเทศ คือ การระดมเงินจากต่างประเทศ ทำได้โดยการกู้ยืมจากต่างประเทศ รวมถึงการได้รับเงินช่วยเหลือและเงินโอนจากต่างประเทศ หรือาจจะเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศโดยภาคเอกชน 2. ผู้ต้องการเงินทุน ได้แก่           2.1 การกู้ยืมจากภาคเอกชน ได้แก้ การกู้ยืมของบุคคลทั่วไปและในธุรกิจเอกชน ทั้งเพื่อการใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค และการลงทุนประกอบธุรกิจ           2.2 การกู้ยืมภาครัฐบาล เช่น การกู้ยืมของรัฐบาลเพื่อการสร้างโครงสร้างทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ถนน ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น ตลอดจนการกู้ยืมเพื่อพัฒนาหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจต่างๆ และการปรับปรุงโครงสร้างภาระหนี้ให้เหมาะสม           2.3 การกู้ยืมจากต่างประเทศ ถ้าการระดมเงินออมภายในประเทศไม่เพียงพอก็ต้องมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ กัน 3. สินทรัพย์ทางการเงิน จำแนกออกไป 2 ส่วน ดังนี้           3.1 สินทรัพย์ทางการเงินที่ออกโดยภาคเอกชน ได้แก่ - ตั๋วแลกเงิน - ตั๋วสัญญาใช้เงิน - เช็ค - หุ้นกู้ - หุ้นบุริมสิทธิ์ - หุ้นสามัญ - ตราสารที่สถาบันการเงินรับรอง - ใบรับฝาก เป็นต้น           3.2 สินทรัพย์ทางการเงินที่ออกโดยรัฐบาล คือ ตราสารที่รัฐบาลออกเพื่อใช้ในการระดมเงินออม เป็นการกู้ยืมโดยภาครัฐบาล ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลัง 4. สถาบันในตลาดการเงิน แบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มทำหน้าที่ต่างกันดังนี้           4.1 สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือนายหน้าในการนำผู้ที่มีเงินออม คือผู้ที่ต้องการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินมาพบกันผู้ที่ต้องการเงินโดย การขายสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อตกลงซื้อขายกันโดยผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางจะคิดค่าบริการหรือค่านายหน้าจากผู้ซื้อและหรือผู้ขาย นอกจากนั้นยังมี หน้าที่ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารและเทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นแก่การซื้อขายดังกล่าวด้วย           4.2 สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นผู้ค้าสินทรัพย์ทางการเงินที่สำคัญได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง และบริษัทเงินทุน           4.3 สถาบันที่ทำหน้าที่ประกันการขาย จะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายสินทรัพย์ทางการเงินที่ออกใหม่           4.4 สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน โดยมีสถานที่ตั้งแน่นอนมีบริการที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการซื้อขายทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้ที่เป็นคนกลาง เป็นต้น สถาบันนี้ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดตราสารหนี้ เป็นต้น 4.5 สถาบันที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ระเบียบ ตลอดจนกำกับดูแลให้สถาบันกลุ่มอื่นๆ ในตลาดการเงินคือปฏิบัติ ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกรทรวงมหาดไทย ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่กำหนด 5.1.4 ประเภทของตลาดการเงินตลาดเงิน (Money market) คือตลาดที่มีการระดมเงินจากประชาชนและการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ทั้งแก่ภาครัฐและเอกชน ซึ่งรวมถึงนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา รวมทั้งการซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุการไถ่ถอนระยะสั้น เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง เป็นต้นตลาดทุน (Capital Market) หมายถึง เป็นแหล่งระดมเงินทุนและให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในตลาดทุน ได้แก่ เงินฝากประจำ กรมธรรม์ประกันชีวิต หุ้นกู้ หุ้นสามัญ และการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล(มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนน้อยสุด) โดยตลาดทุนจะจำแนกออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่-ตลาดทุนแรก เป็นตลาดที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เป็นครั้งแรก เช่น หุ้นกู้ หุ้นสามัญ รวมทั้งการระดมทุนของบริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันภัยโดยการขายกรมธรรม์ให้บุคคล หรือสถาบัน เป็นต้น-ตลาดทุนรอง เป็นตลาดที่ใช้ซื้อขาย หรือขายหลักทรัพย์ที่เคยผ่านมือการซื้อขายมาแล้วครั้งหนึ่ง เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ตลาดอนุพันธ์ ตราสารทางการเงินประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาหรือข้อตกลงที่จะซื้อหรือขายสินค้าในราคา ปริมาณ และเงื่อนไขอื่นที่ตกลงกันไว้ โดยจะทำการส่งมอบสินค้ากันในอนาคต ทั้งนี้ มูลค่าของอนุพันธ์ขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าที่ตกลงซื้อขาย หากมูลค่าของสินค้านั้นเปลี่ยนแปลงไป อนุพันธ์ก็จะมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย5.1.5 ระบบการเงิน  หมายถึง  ระบบที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้ออมและผู้ลงทุนมาพบกันโดยมีตลาดการเงินเป็นตัวกลางซึ่งมีสถาบันสำคัญคือ นายหน้า ผู้ค้า ผู้ประกันการขาย ศูนย์กลางที่ให้บริการทางด้านการขาย ตลอดจนกรอบกฎหมาย ตลาดการเงินจึงมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจ 

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ แนว คิดกลยุทธ์ทางการแข่งขั น         เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาผล...