วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่4ภาพรวมของการจัดการ: การจัดการฐานข้อมูล

บทที่ 4 ภาพรวมของการจัดการ : การจัดการฐานข้อมูล


การจัดการทรัพยากรข้อมูล
   
     
ข้อมูล เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จำเป็นในการจัดการเหมือนกับทรัพย์สินอื่นๆ ของธุรกิจ องค์กรต้องมีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการดำเนินกิจการภายในและที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวคิดข้อมูลพื้นฐาน
      ตัวอักขระ (Character) ส่วนย่อยของข้อมูลเชิงตรรกะขั้นต้น ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญญาลักษณ์ 1 ตัว
     เขตข้อมูล(Field) เป็นลำดับต่อไป กลุ่มของอักษร
     ระเบียน(Record) เขตข้อมูลที่สัมพันธ์กันถูกจัดเป้นกลุ่มในรูปแบบระเบียน แสดงการรวบรวมคุณสมบัติที่ใช้อธิบายเอนทิตี
      แฟ้ม(File) กลุ่มของระเบียนที่สัมพันธ์กัน เรียกแฟ้มหรือตาราง
     ฐานข้อมูล(Database) เป็นการรวบรวมแบบบูรณาการของระเบียนหรือออบเจ็กต์ในเชิงตรรกะที่สัมพันธ์กัน

แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูล
      การพัฒนาฐานข้อมูลและซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล สามารถเข้าถึงได้โดยโปรแกรมประยุกต์ ดังนั้น แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูล เกี่ยวข้องกับ 3 กิจกรรมเบื้องต้นคือ
      -การปรับปรุงและบำรุงรักษาฐานข้อมูล
      -การเตรียมสาระสนเทศที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน
      -การเตรียมความสามารถในการโต้ตอบ ค้นหา และจัดทำรายงาน

การใช้ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล

   
1. การพัฒนาฐานข้อมูล (Database Development)
โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการฐานข้อมูล อนุญาตให้ผู้ใช้พัฒนาฐานข้อมูลตามที่ต้องการได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การควบคุมการพัฒนาฐานข้อมูลขององค์กรให้อยู่ในมือของผู้บริหารระบบหรือผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูล ปรับเลี่ยนคุณลักษณะเฉพาะของฐานข้อมูลเมื่อจำเป็น สาระสนเทศถูกจัดทำสารบัญแฟ้มและเก็บลงในฐานข้อมูลและคุณลักษณะเฉพาะ เรียก พจนานุกรมข้อมูล
   
 2. การสืบค้นฐานข้อมูล (Data Interrogation)
ผู้ใช้สามารถใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลสำหรับการขอสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยใช้ภาษาสอบถามหรือตัวสร้างรายงาน ซึ่งทำให้สามารถรับคำตอบทันทีในรูปแบบของการแสดงทางจอภาพหรือรายงาน
   
 3. การบำรุงรักษาฐานข้อมูล (Database Maintenance)
ฐานข้อมูลขององค์กรต้องการการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลมาจากรายการเปลี่ยนแปลงใหม่หรือเหตุการณ์อื่นๆ
   
4. การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Development)
โปรแกรมสำเร็จรูประบบจัดการฐานข้อมูลมีบทบาทหลักในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สามารถใช้ภาษาโปรแกรมยุกต์ที่สี่และสร้างเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์จากโปรแกรมสำเร็จรูประบบจัดการฐานข้อมูล

 ประเภทของฐานข้อมูล (Types of Databases)
      -ฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการ เก็บรายระเอียดของข้อมูลที่ต้องการเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการของทั้งองค์กร เรียก ฐานข้อมูลซับเจ๊กแอเรีย
      -ฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ เก็บข้อมูลและสารสนเทศที่ดึงมาจากฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการและฐานข้อมูลภายนอก ประกอบด้วยข้อมูลสรุปและสารสนเทศที่จำเป็นต่อผู้จัดการองค์กรและผู้ใช้
      -คลังข้อมูล เก็บข้อมูลปัจจุบันและปีก่อนๆ โดยดึงข้อมูลเชิงปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร เป็นแหล่งข้อมูลส่วนกลางที่ได้ถูกคัดเลือก แกไข จัดมาตรฐานและรวบรวมเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ การวิจัยตลาด และสนับสนุนการตัดสินใจ
      -ฐานข้อมูลแบบกระจาย หลายองค์กรทำซ้ำและกระจายสำเนาหรือบางส่วนของฐานข้อมูลไปยังแม่ข่ายเครือข่ายหลายๆ สถานที่ ฐานข้อมูล สามารถติดตั้งอยู่บนเครื่องแม่ข่ายเครือข่าย www
     - ฐานข้อมูลผู้ใช้ ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลต่างๆ ที่พัฒนาโดยผู้ใช้ที่สถานีปลายทาง
      -ฐานข้อมูลภายนอก การเข้าสารสนเทศที่มีค่าของฐานข้อมูลภายนอกจากพาณิชย์บริการต่อรอง โดยจ่ายค่าธรรมเนียมหรือจากแหล่งต่างๆ บทอินทราเน็ต บน www

การพิจารณาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรข้อมูล
      1. การบริหารระบบฐานข้อมูล เป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดการทรัพยากรข้อมูลในการใช้เทคโนโลยีจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสม
      2. การวางแผนข้อมูล เป็นการวางแผนขององค์กรและการวิเคราะห์หน้าที่ที่เน้นในเรื่องการจัดการทรัพยากรข้อมูล
      3. การบริหารข้อมูล เป็นหน้าที่สำคัญของการจัดการทรัพยากรข้อมูลอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดตั้งและบังคับใช้นโยบายและกระบวนคำสั่งสำหรับการจัดการข้อมูล

โครงสร้างฐานข้อมูล (Database Structures)

      1. โครงสร้างเชิงลำดับขั้น ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม เพราะแต่ละส่วนย่อยข้อมูลมีความสัมพันธ์กับส่วนย่อยเหนือขึ้นไปเท่านั้น ข้อมูลส่วนย่อยหรือระเบียนที่ระดับสูงที่สุดเรียกว่า ราก
      2. โครงสร้างแบบเครือข่าย สามารถแสดงด้วยความสัมพันธ์เชิงตรรกะที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและยังคงใช้โปรแกรมสำเร็จรูป DBMS บนเมนเฟรม ซึ่งอนุญาตความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
      3. โครงสร้างเชิงสัมพันธ์ นิยมมากที่สุดมีการนำมาใช้กับโปรแกรมสำเร็จรูป DBMSไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และระบบเมนเฟรมในแบบจำลองเชิงสัมพันธ์นั้นส่วนย่อยข้อมูลทั้งหมดภายในฐานข้อมูลถูกจัดเก็บ ในรูปแบบตารางที่เรียบง่าย
      4. โครงสร้างเชิงหลายมิติ มีความแตกต่างจากแบบจำลองเชิงสัมพันธ์คือใช้โครงสร้างเชิงหลายมิติเพื่อจัดระเบียบข้อมูลและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
      5. โครงสร้างเชิงวัตถุ แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญของยุคใหม่ของโปรแกรมประยุกต์สื่อประสมเชิงเว็บ

องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
     เนื่องจากขอบเขตการจัดการฐานข้อมูลนั้นกว้างมาก ดังนั้นเราจึงน่าจะรู้จักกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของฐานข้อมูล
     1. User คือ ผู้ใช้งานฐานข้อมูลโดยคนเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลก็ได้ แต่รู้ว่าต้องการข้อมูล
อะไรบ้างในการทำงาน
     2. Data คือ ข้อมูลในฐานข้อมูล เป็นส่วนที่ถูกนำมาใช้งาน ถูกเก็บอยู่ภายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใน
มุมมองของผู้ใช้งานนั้นข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในตารางต่าง ๆ ของฐานข้อมูล
     3. DBMS (Database Management System) คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่คอยจัดการดูแลฐานข้อมูลให้สามารถ
ใช้งานได้ง่าย มีประสิทธิภาพ และรักษาข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในให้เชื่อถือได้เสมอ
     4. Database Server คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งมักจะติดตั้ง DBMS ไว้ภายในคอย
ทำหน้าที่ จัดการฐานข้อมูลโดยปกติมักจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ การทำงานในระดับสูงมาก
เพราะต้องคอยรับการใช้งานพร้อม ๆ กันจาก User
     5. DBA (Database Administrator) คือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลรักษาฐานข้อมูล โดยจะใช้ DBMS เป็นเครื่องมือและคอยจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับฐานข้อมูล


_______________________________________________________________คำถามกรณีศึกษา บทที่ 6

1.ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักร สามารถช่วยให้เกิดผลกำไรสูงขึ้น และปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร

ตอบ ในโรงเลื่อยแถบตอนใต้ ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องเลเซอร์ (Laser Vision Systems) จะวัดขนาดของไม้ซุงและคำนวณการเลื่อยไม้ซุงนั้นให้ได้ผลกำไรคุ้มค่าที่สุดภายใต้สภาพตลาดปัจจุบัน เพื่อให้ได้มาตรฐาน เครื่องเลเซอร์ที่โรงงานผลิตรถยนต์ Mercedes-Benz .oU.S. ได้กำหนดการวัดขนาดไว้หลายประการเพื่อใช้กับตัวถังรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่ เครื่องส่องขยายกำลังสูง ใช้ตรวจสอบสิ่งที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่มนุษย์จะเห็นได้ อย่างเช่น การตรวจหาสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดเล็กจิ๋วในโรงงานผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ( Semiconductor)

 2. ประโยชน์ทางธุรกิจที่ Gulf States Paper ได้รับจาก ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรคืออะไร

ตอบ เทคโนโลยีซึ่งเชื่อมต่อดวงตาที่ไม่เคยกระพริบนี้เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่จะแปลงภาพสิ่งที่เห็น ซึ่งไม่เพียงแต่จะคอยบังคับหุ่นยนต์ที่ประกอบประตูรถยนต์เข้ากับตัวถังรถยนต์เท่านั้น แต่ยังสามารถคัดพืชผักที่มีตำหนิออกจากกระบวนการผลิตอาหารแช่แข็ง แม้กระทั่งช่วยให้มั่นใจว่าแคปซูลยานั้นถูกส่งไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องหรือไม่อีกด้วย

3. ระบบสารสนเทศชนิดอื่นๆที่จำเป็นในการสนับสนุนการทำงานของระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรที่ใช้ใน Gulf States Paper คืออะไร เช่น คุณคิดว่าข้อมูลเกี่ยวกับราคาในตลาดไม้แผ่นถูกนำมาป้อนให้แก่ระบบนี้ได้อย่างไร

ตอบ ระบบมองภาพจะคำนวณขนาดของแผ่นไม้ที่จะให้ผลกำไรสูงสุดโดยมีการสูญเสียไม้แต่ละท่อนให้น้อยที่สุดบนจอวิดีโอ จะเห็นแผนภาพขนาดของแผ่นไม้ที่คอมพิวเตอร์จะตัดไม้นั้น

________________________________________________________________คำถามกรณีศึกษา


Book -Of -The-Month Club:การตลาดแบบขายตรงบนเว็บ1.คุณคิดว่าทำไมการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบออนไลน์ ถึงจะดีกว่าการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบไปรษณีย์ สำหรับ Book -Of -The-Month Clubตอบ การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากพวกเขามีทางเลือกมากกว่าแคตาล็อกที่จะส่งให้ลูกค้า 17 ครั้งต่อปี โดยจะมีรายชื่อหนังสือใหม่ 30 ชื่อเรื่องและลดราคาหนังสือเดิม 200 ชื่อเรื่องต่อครั้ง ลูกค้าสามารถเลือกหนังสือได้มากกว่า 3,200 รายการ ซึ่งให้รายละเอียดเป็นพิเศษในเรื่องของเนื้อหา ประวัติของผู้เขียน คำวิจารณ์ของบรรณาธิการ และอื่นๆ2.   คุณเห็นด้วยกับนักการตลาดออนไลน์ไหมว่า ชื่อตราผลิตภัณฑ์อย่าง Book-Of-The-Month Club สามารถมีความได้เปรียบในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ ทำไมจึงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยตอบ  เห็นด้วย เพราะ ระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและทำให้ชื่อสียงของร้านมีความทันสมัยมากขึ้น เปนผลตอบแทนที่ดีแบบไม่ได้ตั้งใจ3.   มีขั้นตอนอื่นๆ อีกไหมที่ Book-Of-The-Month Club ควรใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจบนเว็บตอบ 1.  การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์        2.  การรวบรวมข้อมูล        3.   การจัดการฐานข้อมูล        4.    การวิเคราะห์ข้อมูล        5.    การนำไปปฏิบัติและตอบสนองลูกค้า        6.    การวะเคราะห์การตอบกลับของลูกค้า

________________________________________________________________________
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6
1.) ทำไมแนวโน้มของระบบสารสนเทศ จึงมีการนำไปสนับสนุนงานธุรกิจหลายด้าน
ตอบ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในธุรกิจและผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานระบบสารสนเทศ สามารถสนองความต้องการการใช้งานด้านธุรกิจได้

2.) ทำไมระบบการตลาดปัจจุบัน จึงเปลี่ยนมาเป็นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต จงอธิบาย
ตอบ การตลาดทำหน้าที่สำคัญในการจัดการธุรกิจการค้า องค์ธุรกิจจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานด้านการตลาดที่สำคัญในอันที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3.) จงยกตัวอย่างของบริษัทที่นำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Gulf States Paper Corporation

4.) ระบบการขายในสำนักงานอัตโนมัติ มีผลกระทบต่อพนักงานขาย พนักงานฝ่ายบริหารการตลาด และฝ่ายจัดทำเรื่องการแข่งขันอย่างไร
ตอบ การเพิ่มจำนวนขึ้นของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายทำให้เกิดปัจจัยพื้นฐานสำหรับแรงขับเคลื่อนการขายอัตโนมัติ ในหลายๆบริษัท ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เว็บบราวเซอร์และซอฟแวร์ด้านการจัดการติดต่อการขายเป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมต่อกับเว็บไซท์การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตและอินทราเน็ตของบริษัท

5.) ระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต สามารถนำมาช่วยในการทำงานร่วมกันในกระบวนการผลิตได้อย่างไร
ตอบ กระบวนการผลิตเหมือนกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิต และการบริหารด้านการจัดหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความร่วมมือ การเพิ่มในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตและเครือข่ายอื่นๆเพื่อเชื่อโยงกับสถานีงาน

6.) ระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต ช่วยสนับสนุนด้านการการจัดการเรื่องทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร ยกตัวอย่างมาอย่างละ 3 ตัวอย่าง
ตอบ - อินเทอร์เน็ต เช่น ระบบออนไลน์ของ HRM ได้เกี่ยวข้องกับการจัดหาลูกจ้างผ่านเว็บไซท์ของแผนกจัดหาลูกจ้างของบริษัท ใช้บริการและฐานข้อมูลของบริษัทจัดหางานบนเว็บ การประกาศผ่านกลุ่มข่าวบนอินเทอร์เน็ตและสื่อสารกับผู้สมัครงานผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ - อินทราเน็ต เช่น การให้บริการตัวเองของลูกจ้างจะช่วยให้พนักงานได้เห็นรายงานด้านผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย ข้อมูลด้านการจ้างงานและเงินเดือน สามารถเข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศส่วนบุคคลให้เป็นปัจจุบัน

7.) เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ด้านการบัญชี และการเงินอย่างไร อธิบาย
ตอบ ระบบคอมพิวเตอร์ด้านการบัญชีจะทำการบันทึกและรายงานการไหลเวียนของเงินทุนภายในองค์กรในเรื่องที่สำคัญในอดีตและผลิตรายการด้านการเงิน ส่วนระบบสารสนเทศด้านการเงิน สนับสนุนผู้จัดการฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัท เป็นต้น

8.) ถ้านักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นผู้บริหารหรือเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจเอง นักศึกษาคิดที่จะนำเอาระบบสาระสนเทศมาใช้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงให้เหตุผล

ตอบ ใช้ เพราะระบบสารสนเทศสามารถที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราไปอย่างได้ง่ายขึ้น สะดวกในการบริหารงานมากขึ้น ยิ่งในเรื่องของระบบสารสนเทศด้านบัญชีที่ช่วยในเรื่องของระบบบัญชีออนไลน์ที่ช่วยในเรื่องของกระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น

________________________________________________________________
ข้อสอบย่อย

1.) ระบบสารสนเทศแบบหน้าที่ ในภาษาอังกฤษคือ
      A. Cross-functional Information Systems...
      B. Marketing information Systems
      C. Interactive Marketing
      D. Sale Force Automation

2.) เป้าหมายทางการตลาด มีองค์ประกอบที่เป็นเป้าหมายกี่ประการ
      A. 3 ประการ 
      B. 4 ประการ 
      C. 5 ประการ ...
      D. 6 ประการ

3.) เครือข่ายความร่วมมือในการผลิต ช่วยในเรื่องใด
      A. เพื่อช่วยในการควบคุมการทำงานที่เห็นได้ทางกายภาพ 
      B. เพื่อช่วยในงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิตและการบริหารด้านการจัดหา ...
      C. เพื่อช่วยในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร 
      D.เพื่อช่วย ใน อุตสาหกรรม เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง

4.) ระบบบัญชีออนไลน์ มีวัตถุประสงค์พื้นฐานกี่ประการ
      A. 5 ประการ 
      B. 6 ประการ ..
      C. 7 ประการ 
      D. 8 ประการ

5.) การควบคุมสินค้าคงคลัง หมายถึงอะไร
      A. กระบวนการสั่งซื้อหรือกระบวนการซื้อขาย
      B. ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า.. 
      C. เป็นการเก็บรายการยอดขายสินค้าด้วยข้อมูลที่สร้างจากการสั่งซื้อและการจ่ายเงินของลูกค้า 
      D. ระบบเงินเดือนได้รับข้อมูลจากบัตรเวลาทำงานพนักงานและระเบียนอื่นๆ

6.) วงจรการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง มีกี่ขั้นตอน
      A. 4 ขั้นตอน 
      B. 5 ขั้นตอน ..
      C. 6 ขั้นตอน 
      D. 8 ขั้นตอน

7.) CIM ย่อมาจากอะไร
      A. การวิจัยทางการตลาดและการคาดการณ์ 
      B. คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตแบบบูรณาการ ..
      C. การควบคุมการดำเนินงาน 
      D. คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรม

8.) TPS ย่อมาจากอะไร
      A. ระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง..
      B. ระบบสารสนเทศด้านบัญชี
      C. วงจรการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
      D. กลยุทธ์เครือข่ายระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง

9.) ข้อใดคือ การประมวลผลตามเวลาจริง 
      A. ประสิทธิภาพของการประมวลผลตามเวลาจริง ..
      B. ประสิทธิภาพในการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีหยุด
      C. การบำรุงรักษาฐานข้อมูลเป็นงานที่สำคัญของระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง 
      D. การจัดทำสารสนเทศในรูปแบบของเอกสารและรายงานเอกสาร

10.) Database Maintenance ในภาษาไทยคือ 
      A.กระบวนการป้องกันการล่มของระบบ
      B. การประมวลผลตามเวลาจริง
      C. การบำรุงรักษาฐานข้อมูล...
      D. การจัดทำเอกสารและรายงานทั่วไป
________________________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ แนว คิดกลยุทธ์ทางการแข่งขั น         เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาผล...